ที่พักริมทาง (Rest Area) ถือเป็นองค์ประกอบของทางหลวง ตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 (และที่แก้ไขเพิ่มเติม) มาตรา 3[1] โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นจุดแวะพักสำหรับผู้ใช้เส้นทางเพื่ออำนวยความปลอดภัยในการเดินทางโดยมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เช่น ที่จอดรถ ศาลาพักผ่อน ห้องน้ำ ร้านอาหาร ร้านขายของ สถานีบริการน้ำมัน และการบริการอื่น ๆ เป็นต้น รวมถึงเป็นสถานที่เพื่อผ่อนคลายอิริยาบถจากการเดินทาง การทำธุระส่วนตัว รวมถึงการใช้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ สามารถช่วยป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากความเหนื่อยล้าหรือหลับในและช่วยรักษาสมาธิในการขับขี่ของผู้ใช้ทาง เพื่อลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุและลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุทางถนน ตลอดจนช่วยให้ผู้ใช้ทางประหยัดเวลาและลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางเข้าและออกจากระบบทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองโดยไม่จำเป็น รวมถึงสามารถดึงดูดให้มีผู้ใช้ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองมากขึ้น นอกจากนี้ ที่พักริมทางยังมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมระบบโครงข่ายคมนาคมของประเทศไทยให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล รวมถึงส่งเสริมภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ ในพื้นที่ข้างเคียงโดยรอบที่ตั้งที่พักริมทางให้เกิดการพัฒนา เติบโต ทั้งในด้านการจ้างงาน การท่องเที่ยว อุตสาหกรรม การบริการ และการพัฒนาสังคม
เพื่อพัฒนาที่พักริมทางบนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองให้เป็นไปตามมาตรฐาน กรมทางหลวงจึงได้จัดทำข้อกำหนดกรมทางหลวง เรื่อง มาตรฐานและลักษณะที่พักริมทางในเขตทางหลวงพิเศษและทางหลวงสัมปทาน พ.ศ. 2560 ซึ่งกำหนดให้ที่พักริมทางมีองค์ประกอบของสิ่งปลูกสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องจัดให้มี โดยจำแนกที่พักริมทางในเขตทางหลวงพิเศษและทางหลวงสัมปทานแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ตามขนาดของพื้นที่ รวมถึงการจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อให้บริการแตกต่างกันไปตามความเหมาะสม ได้แก่ (1) ศูนย์บริการทางหลวง (Service Center) ที่พักริมทางหลวงขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ประมาณ 50 ไร่ขึ้นไป โดยมีสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการครบทุกประเภท จัดให้มีขึ้นเพื่อเป็นจุดแวะพักหลักสำหรับผู้ใช้ทาง (2) สถานที่บริการทางหลวง (Service Area) ที่พักริมทางหลวงขนาดกลาง มีเนื้อที่ประมาณ 20 ไร่ขึ้นไป โดยมีสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการอย่างเพียงพอต่อการใช้งาน จัดให้มีขึ้นเพื่อเป็นจุดแวะพักหลักสำหรับผู้ใช้ทาง และ (3) จุดพักรถ (Rest Stop) ที่พักริมทางหลวงขนาดเล็ก มีเนื้อที่ประมาณ 5 ไร่ขึ้นไป โดยมีสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการอย่างเพียงพอต่อการใช้งาน จัดให้มีขึ้นเพื่อเป็นจุดแวะพักเพิ่มเติมสำหรับผู้ใช้ทาง หรือสำหรับผู้ใช้ทางบางประเภทเป็นการเฉพาะ เช่น จุดพักสำหรับผู้ขับขี่รถบรรทุก
ที่พักริมทาง (Rest Area) บนโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ที่พักริมทางที่เปิดให้บริการแล้ว ปัจจุบันมีจำนวน 4 แห่ง และที่พักริมทางที่จะเปิดให้บริการเพิ่มเติมในอนาคตอีก 14 แห่ง ดังต่อไปนี้
เพื่อพัฒนาที่พักริมทางบนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองให้เป็นไปตามมาตรฐาน กรมทางหลวงจึงได้จัดทำข้อกำหนดกรมทางหลวง เรื่อง มาตรฐานและลักษณะที่พักริมทางในเขตทางหลวงพิเศษและทางหลวงสัมปทาน พ.ศ. 2560 ซึ่งกำหนดให้ที่พักริมทางมีองค์ประกอบของสิ่งปลูกสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องจัดให้มี โดยจำแนกที่พักริมทางในเขตทางหลวงพิเศษและทางหลวงสัมปทานแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ตามขนาดของพื้นที่ รวมถึงการจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อให้บริการแตกต่างกันไปตามความเหมาะสม ได้แก่ (1) ศูนย์บริการทางหลวง (Service Center) ที่พักริมทางหลวงขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ประมาณ 50 ไร่ขึ้นไป โดยมีสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการครบทุกประเภท จัดให้มีขึ้นเพื่อเป็นจุดแวะพักหลักสำหรับผู้ใช้ทาง (2) สถานที่บริการทางหลวง (Service Area) ที่พักริมทางหลวงขนาดกลาง มีเนื้อที่ประมาณ 20 ไร่ขึ้นไป โดยมีสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการอย่างเพียงพอต่อการใช้งาน จัดให้มีขึ้นเพื่อเป็นจุดแวะพักหลักสำหรับผู้ใช้ทาง และ (3) จุดพักรถ (Rest Stop) ที่พักริมทางหลวงขนาดเล็ก มีเนื้อที่ประมาณ 5 ไร่ขึ้นไป โดยมีสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการอย่างเพียงพอต่อการใช้งาน จัดให้มีขึ้นเพื่อเป็นจุดแวะพักเพิ่มเติมสำหรับผู้ใช้ทาง หรือสำหรับผู้ใช้ทางบางประเภทเป็นการเฉพาะ เช่น จุดพักสำหรับผู้ขับขี่รถบรรทุก
ที่พักริมทาง (Rest Area) บนโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ที่พักริมทางที่เปิดให้บริการแล้ว ปัจจุบันมีจำนวน 4 แห่ง และที่พักริมทางที่จะเปิดให้บริการเพิ่มเติมในอนาคตอีก 14 แห่ง ดังต่อไปนี้
ที่พักริมทาง (Rest Area) บนโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง | |||
---|---|---|---|
ชื่อที่พักริมทาง | ประเภท | ตำแหน่ง (กม.) | |
ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9 สายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ถนนกาญจนาภิเษก) ตอนบางปะอิน – บางพลี (จำนวน 1 แห่ง) | |||
ที่พักริมทางที่เปิดให้บริการแล้ว | |||
(1) ทับช้าง | จุดพักรถ (Rest Stop) | กม.48+280 | |
ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 สายกรุงเทพฯ – บ้านฉาง (จำนวน 6 แห่ง) | |||
ที่พักริมทางที่เปิดให้บริการแล้ว | |||
(1) ลาดกระบัง | จุดพักรถ (Rest Stop) | กม.21+700 | |
(2) บางปะกง | สถานที่บริการทางหลวง (Service Area) | กม.49+300 | |
(3) หนองรี | จุดพักรถ (Rest Stop) | กม.72+500 | |
ที่พักริมทางที่จะเปิดให้บริการเพิ่มเติมในอนาคต | |||
(1) ศรีราชา | ศูนย์บริการทางหลวง (Service Center) | กม.93+750 | |
(2) มาบประชัน | จุดพักรถ (Rest Stop) | กม.119+200 | |
(3) บางละมุง | สถานที่บริการทางหลวง (Service Area) | กม.137+100 | |
ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 6 สายบางปะอิน - นครราชสีมา (จำนวน 8 แห่ง) | |||
ที่พักริมทางที่จะเปิดให้บริการเพิ่มเติมในอนาคต | |||
(1) วังน้อย | จุดพักรถ (Rest Stop) | (ขาเข้ากรุงเทพฯ) กม.3+350 |
(ขาออกกรุงเทพฯ) กม.5+550 |
(2) หนองแค | จุดพักรถ (Rest Stop) | (ขาเข้ากรุงเทพฯ) กม.26+250 |
(ขาออกกรุงเทพฯ) กม.26+000 |
(3) สระบุรี | สถานที่บริการทางหลวง (Service Area) | (ขาเข้ากรุงเทพฯ) กม.56+250 |
(ขาออกกรุงเทพฯ) กม.54+400 |
(4) ทับกวาง | จุดพักรถ (Rest Stop) | (ขาเข้ากรุงเทพฯ) กม.65+600 |
(ขาออกกรุงเทพฯ) กม.64+900 |
(5) ปากช่อง | ศูนย์บริการทางหลวง (Service Center) | (ขาเข้ากรุงเทพฯ) กม.108+757 |
(ขาออกกรุงเทพฯ) กม.107+525 |
(6) ลำตะคอง | จุดพักรถ (Rest Stop) | (ขาเข้ากรุงเทพฯ) กม.122+000 |
|
(7) สีคิ้ว | สถานที่บริการทางหลวง (Service Area) | (ขาเข้ากรุงเทพฯ) กม.147+000 |
(ขาออกกรุงเทพฯ) กม.147+600 |
(8) ขามทะเลสอ | จุดพักรถ (Rest Stop) | (ขาเข้ากรุงเทพฯ) กม.173+000 |
(ขาออกกรุงเทพฯ) กม.173+000 |
ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 81 สายบางใหญ่ – กาญจนบุรี (จำนวน 3 แห่ง) | |||
ที่พักริมทางที่เปิดให้บริการเพิ่มเติมในอนาคต | |||
(1) นครชัยศรี | สถานที่บริการทางหลวง (Service Area) | (ขาเข้ากรุงเทพฯ) กม.19+500 |
(ขาออกกรุงเทพฯ) กม.19+500 |
(2) นครปฐม | สถานที่บริการทางหลวง (Service Area) | (ขาเข้ากรุงเทพฯ) กม.47+500 |
(ขาออกกรุงเทพฯ) กม.47+500 |
(3) ท่ามะกา | จุดพักรถ (Rest Stop) | (ขาเข้ากรุงเทพฯ) กม.70+900 |
(ขาออกกรุงเทพฯ) กม.70+900 |
[1] พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549 มาตรา 3 ระบุว่า“ทางหลวง” หมายความว่า ทางหรือถนนซึ่งจัดไว้เพื่อประโยชน์ในการจราจรสาธารณะทางบก ไม่ว่าในระดับพื้นดิน ใต้หรือเหนือพื้นดิน หรือใต้หรือเหนืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น นอกจากทางรถไฟและหมายความรวมถึงที่ดิน พืช พันธุ์ไม้ทุกชนิด สะพาน ท่อหรือรางระบายน้ำ อุโมงค์ ร่องน้ำ กำแพงกันดิน เขื่อน รั้ว หลักสำรวจ หลักเขต หลักระยะป้ายจราจร เครื่องหมายจราจร เครื่องหมายสัญญาณ เครื่องสัญญาณไฟฟ้า เครื่องแสดงสัญญาณที่จอดรถ ที่พักคนโดยสาร ที่พักริมทาง เรือ หรือพาหนะสำหรับขนส่งข้ามฟาก ท่าเรือสำหรับขึ้นหรือลงรถ และอาคารหรือสิ่งอื่นอันเป็นอุปกรณ์งานทางบรรดาที่มีอยู่หรือที่ได้จัดไว้ในเขตทางหลวง เพื่อประโยชน์แก่งานทางหรือผู้ใช้ทางหลวงนั้นด้วย