ความเป็นมาของโครงการ


โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางขุนเทียน – ปากท่อ เป็นหนึ่งโครงการภายใต้ แผนแม่บทการพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองระยะ 20 ปี พ.ศ. 2560 – 2579 ซึ่งจัดว่ามีลำดับความสำคัญสูง มีแนวสายทางเชื่อมต่อกับโครงการทางพิเศษสายพระราม 3 – ดาวคะนอง – วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก บริเวณด่านบางขุนเทียนของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ดังนั้น การก่อสร้างโครงการจะเป็นการเติมเต็มโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง รองรับการเดินทางและขนส่งสินค้าระหว่างกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ลงสู่พื้นที่ภาคใต้ของประเทศ สามารถแบ่งเบาปริมาณจราจรบนทางหลวงหมายเลข 35 (ถนนพระราม 2) อีกทั้ง จะเป็นโครงข่ายเส้นทางสำคัญที่ช่วยผลักดันให้เกิดการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การท่องเที่ยว ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดความมั่นคงด้านการคมนาคมขนส่งทางถนนในการเดินทางและขนส่งสินค้าลงสู่พื้นที่ภาคใต้ของประเทศ

รายละเอียดโครงการ ประกอบด้วย


1. แนวเส้นทาง

แนวเส้นทางโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางขุนเทียน - บ้านแพ้ว (M82) มีจุดเริ่มต้นเชื่อมต่อได้โดยตรงกับโครงการทางพิเศษ สายพระราม 3 – ดาวคะนอง – วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก ซึ่งดำเนินการก่อสร้างโดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) และสิ้นสุดที่บริเวณเขตพื้นที่อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ระยะทางรวมประมาณ 25 กิโลเมตร มีด่านเก็บเงินค่าธรรมเนียมผ่านทาง จำนวน 6 แห่ง ได้แก่
1) ด่านพันท้ายนรสิงห์
2) ด่านมหาชัย 1
3) ด่านมหาชัย 2
4) ด่านสมุทรสาคร 1
5) ด่านสมุทรสาคร 2
6) ด่านบ้านแพ้ว

2. รูปแบบการก่อสร้าง

โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางขุนเทียน – บ้านแพ้ว (M82) มีรูปแบบเป็นการก่อสร้างเป็นทางยกระดับบนทางหลวงหมายเลข 35 (ถนนพระราม 2) ตามมาตรฐานทางหลวงพิเศษมีการควบคุมการเข้าออกอย่างสมบูรณ์ โดยดำเนินการก่อสร้างแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ
ช่วงที่ 1 ช่วงบางขุนเทียน - เอกชัย
โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางขุนเทียน – บ้านแพ้ว ช่วงบางขุนเทียน – เอกชัย (M82) โดยมีจุดเริ่มต้นบริเวณ กม. 9+731 ในเขตพื้นที่สมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร กม. 20+295 ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ระยะทาง 10.564 กิโลเมตร เป็นทางยกระดับ 6 ช่องจราจร มีจุดขึ้น - ลง จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ ด่านฯ พันท้ายนรสิงห์ และด่านฯ มหาชัย 1 โดยเก็บค่าผ่านทางแบบคิดตามระยะทาง (ระบบปิด) ปัจจุบันกรมทางหลวงกำลังดำเนินการก่อสร้างโดยใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน
ช่วงที่ 2 ช่วงเอกชัย - บ้านแพ้ว
โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางขุนเทียน – บ้านแพ้ว ช่วงเอกชัย - บ้านแพ้ว (M82) โดยมีจุดเริ่มต้นบริเวณ กม. 20+295 ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร และสิ้นสุดบริเวณ กม. 36+645 ในเขตพื้นที่อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร รวมระยะทางประมาณ 16.350 กิโลเมตร โดยออกแบบเป็นทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร มีจุดขึ้นลงจำนวน 4 แห่ง ได้แก่ ด่านฯ มหาชัย 2 ด่านฯ สมุทรสาคร 1 ด่านฯ สมุทรสาคร 1 และด่านฯ บ้านแพ้ว โดยเก็บค่าผ่านทางแบบคิดตามระยะทาง (ระบบปิด) กรมทางหลวงมีแผนการก่อสร้างโดยใช้แหล่งเงินจากเงินทุนค่าธรรมเนียมผ่านทาง ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ดำเนินโครงการแล้ว เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 วงเงิน 19,700 ล้านบาท ปัจจุบันอยู่ระหว่างหาตัวผู้รับจ้าง

3. การจัดเก็บค่าผ่านทาง

การจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทาง กรมทางหลวงได้กำหนดให้จัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางแบบระบบปิด (Closed System) โดยเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางแบบคิดตามระยะทาง ซึ่งใช้ระบบจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางแบบเงินสด (Manual) ระบบจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางอัตโนมัติ (ETC) ซึ่งสามารถรองรับระบบการเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางแบบไม่มีไม้กั้น หรือ Multi-Lane Free Flow (MLFF) ได้
ทั้งนี้ ได้กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมผ่านทางที่เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคม ในปัจจุบัน โดยพิจารณาจากการวิเคราะห์รายได้ค่าผ่านทางที่คาดว่าจะจัดเก็บได้ในอนาคต และอัตราผลตอบแทน ทางเศรษฐกิจของโครงการ สรุปอัตราค่าผ่านทางได้ ดังนี้
ประเภทรถ อัตราค่าผ่านทาง
(อัตราแรกเข้า + อัตราคิดตามระยะทาง)
รถยนต์ 4 ล้อ 10 บาท + 2.0 บาท/กม.
รถยนต์ 6 ล้อ 16 บาท + 3.2 บาท/กม.
รถยนต์มากกว่า 6 ล้อ 23 บาท + 4.6 บาท/กม.

4. ระบบการบริหารจัดการ

เพื่อความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัยในการเดินทางของผู้ใช้ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดให้มีระบบต่าง ๆ ดังนี้

1) ระบบควบคุมการจราจร (Traffic Control Surveillance System)

เป็นระบบที่มีความสำคัญต่อการให้บริการแก่ผู้ใช้ทางเป็นอย่างมาก และยังช่วยลดโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุและช่วยให้การจราจรมีความสะดวกรวดเร็ว โดยมีการควบคุมและการสั่งการจากศูนย์ควบคุมการจราจรกลาง (Central Control Building: CCB) เพื่อควบคุมจากอาคารควบคุมที่ประจำอยู่ในแต่ละด่านเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทาง โดยกรมทางหลวงได้ออกแบบให้มีการติดตั้งระบบควบคุมการจราจรต่าง ๆ สำหรับโครงการฯ ประกอบด้วย
ระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด

ระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (Close Circuit Television System, CCTV)

สำหรับการตรวจตราสภาพการจราจรบนทางพิเศษ
ระบบตรวจนับจำนวนยานพาหนะ (Vehicle Detector System, VDS)

ระบบตรวจนับจำนวนยานพาหนะ (Vehicle Detector System, VDS)

โดยติดตั้งทุกช่องจราจร เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์สภาพจราจร
ระบบโทรศัพท์ฉุกเฉิน (Emergency Telephone System, ETS)

ระบบโทรศัพท์ฉุกเฉิน (Emergency Telephone System, ETS)

เพื่อรองรับการติดต่อสื่อสารของผู้ใช้ทางกับเจ้าหน้าที่ ควบคุมการจราจร ในกรณีที่ผู้ใช้ทางต้องการความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่
ระบบโทรศัพท์ (IP Phone)

ระบบโทรศัพท์ (IP Phone)

เป็นระบบโทรศัพท์รองรับการสื่อสารระหว่างด่านเก็บเงิน
ระบบป้ายปรับเปลี่ยนข้อความ (Variable Messenger Sign, VMS)

ระบบป้ายปรับเปลี่ยนข้อความ (Variable Message Sign, VMS)

ใช้บอกและแสดงข้อมูลต่างๆ เพื่อแนะนำและเตือนผู้ใช้ทาง
ระบบป้ายสัญญาณปรับได้ (Matrix Sign, MS)

ระบบป้ายสัญญาณปรับได้ (Matrix Sign, MS)

ใช้แสดงสัญญาณลักษณะและเครื่องหมายจราจรที่เปลี่ยนแปลงได้
ระบบนาฬิกามาตรฐาน (Clock System)

ระบบนาฬิกามาตรฐาน (Clock System)

เป็นเวลามาตรฐานเพื่อใช้เปรียบเทียบเวลาที่แม่นยำและเที่ยงตรงของระบบเก็บค่าผ่านทางและระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ระบบวิทยุสื่อสาร (Radio Communication)

ระบบวิทยุสื่อสาร (Radio Communication)

ใช้เป็นตัวรับ-ส่งสัญญาณสำหรับการติดตั้งสื่อสารต่างๆ ให้ครอบคลุมพื้นที่โครงการ
ระบบสื่อสารข้อมูล (Graphic Display Panel)

ระบบสื่อสารข้อมูล (Graphic Display Panel)

ทำหน้าที่รับ-ส่ง ข้อมูลของระบบการควบคุมการจราจร และระบบจัดเก็บค่าผ่านทางมายังศูนย์ควบคุม
ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมจราจร (Central Computer System, CCS)

ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมจราจร (Central Computer System, CCS)

มีหน้าที่หลักในการจัดการข้อมูลรวมที่ศูนย์ควบคุม (CCB)
ระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูล (Communication Network System)

ระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูล (Communication Network System)

เป็นระบบสื่อสารหลัก (Backbone) มีหน้าที่หลักในการรับ-ส่งข้อมูล ผ่านโครงข่ายไฟเบอร์ออพติก
power

ระบบจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์บนสายทาง (Power Network)

Building_Security

ระบบรักษาความปลอดภัยอาคาร (Building Security System)


2) ระบบกู้ภัย

โครงการได้ออกแบบให้มีระบบกู้ภัยตลอดสายทาง เพื่ออำนวยความปลอดภัย และช่วยเหลือผู้ใช้ทางในยามฉุกเฉิน ให้สามารถเข้าถึงพื้นที่เกิดเหตุภายในช่วงระยะเวลาที่กำหนด
ภาพตัวอย่างงานระบบกู้ภัย

5. มาตรการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมและชุมชน

การศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Feasibility Study) โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง โครงการก่อสร้างทางยกระดับบนทางหลวงหมายเลข 35 สายธนบุรี – ปากท่อ (ถนนพระราม 2) ดำเนินการแล้วเสร็จเมื่อปี 2557 ต่อมากรมทางหลวงว่าจ้างที่ปรึกษาให้ดำเนินการสำรวจและออกแบบรายละเอียด (Detail Design) โครงการฯ โดยได้ดำเนินการสำรวจและออกแบบรายละเอียดแล้วเสร็จ เมื่อปี 2558 สำหรับรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2562

สถานะและแผนการดำเนินโครงการ


สถานะการดำเนินงานของโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางขุนเทียน - บ้านแพ้ว ช่วงเอกชัย – บ้านแพ้ว (M82) มีรายละเอียดดังนี้
1) การออกแบบรายละเอียด (Detail Design) แล้วเสร็จ
2) รายผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) แล้ว
3) งานโยธาช่วงช่วงบางขุนเทียน - เอกชัย อยู่ระหว่างก่อสร้าง มีความก้าวหน้า 74.97%
4) งานโยธาช่วงเอกชัย - บ้านแพ้ว อยู่ระหว่างก่อสร้าง มีความก้าวหน้า 5.26%
5) งานระบบพร้อมบริหารจัดการและงานบำรุงรักษาทาง O&M ทั้งโครงการ ปัจจุบันคณะกรรมการนโยบายร่วมลงทุนฯ อนุมัติรูปแบบการร่วมลงทุนแล้ว เมื่อเดือนสิงหาคม 2565 และอยู่ระหว่างเสนอ ครม. พิจารณาอนุมัติโครงการ