กรมทางหลวงได้เริ่มแผนการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (Intercity Motorways)
มาตั้งแต่ปี 2540 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2540 ให้ความเห็นชอบในหลักการของแผนแม่บทการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศไทย จำนวน 13 เส้นทาง ระยะทาง 4,150 กิโลเมตร
จากสภาพเศรษฐกิจสังคมและยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป กรมทางหลวงได้ดำเนินการศึกษาและทบทวนแผนแม่บทฯ ฉบับปี พ.ศ. 2540 ดังกล่าว โดยในปี พ.ศ. 2560 กรมทางหลวงได้จัดทำแผนแม่บทการพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (Intercity Motorways) ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560 – 2579) จำนวน 21 สายทาง ระยะทางรวมทั้งสิ้น 6,612 กิโลเมตร ซึ่งในปัจจุบันกรมทางหลวงได้ดำเนินการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองตามแผนแม่บทนี้ โดยล่าสุดกรมทางหลวงอยู่ระหว่างการดำเนินการศึกษาทบทวนเพื่อจัดทำแผนบูรณาการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองและระบบราง (MR-MAP) ตามนโยบายของกระทรวงคมนาคม
ทั้งนี้ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองที่ก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการแล้ว
ทั้งในส่วนที่กรมทางหลวงรับผิดชอบการดำเนินงานและบำรุงรักษาเอง และในส่วนที่ให้เอกชนรับผิดชอบ
การดำเนินงานและบำรุงรักษาภายใต้การกำกับดูแลของกรมทางหลวง จำนวนรวม 3 สายทาง ระยะทางรวม 282 กม. ได้แก่
1) ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 สายกรุงเทพมหานคร – บ้านฉาง (ระยะทาง 181 กม.)
2) ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 สายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ถนนกาญจนาภิเษก) ตอนบางปะอิน – บางพลี และตอนพระประแดง – บางแค ช่วงพระประแดง – ต่างระดับบางขุนเทียน (ระยะทาง 79 กม.)
3) ทางหลวงสัมปทาน สายทางยกระดับอุตราภิมุข (ระยะทาง 22 กม.) (บ.ดอนเมืองโทลเวย์ เป็นผู้รับสัมปทาน)
สำหรับโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองที่ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้าง มีจำนวน 3 สายทาง ระยะทางรวม 317 กม. ได้แก่
1) โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 6 สายบางปะอิน – นครราชสีมา (ระยะทาง 196 กม.)
2) โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 81 สายบางใหญ่ – กาญจนบุรี (ระยะทาง 96 กม.)
3) โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 82 สายบางขุนเทียน – บ้านแพ้ว (ระยะทาง 25 กม.)
ในส่วนของโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองที่อยู่ระหว่างการศึกษารูปแบบการลงทุนและเตรียมความพร้อมในการเสนอขออนุมัติเห็นชอบการดำเนินการก่อสร้าง มีจำนวน 4 สายทาง ระยะทางรวม 187 กม. ได้แก่
1) โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 8 สายนครปฐม – ชะอำ (ระยะทาง 109 กม.)
2) โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 5 ส่วนต่อขยายทางยกระดับอุตราภิมุข ช่วงรังสิต – บางปะอิน (ระยะทาง 22 กม.)
3) โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 ทางยกระดับช่วงศรีนครินทร์-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ระยะทาง 18 กม.)
4) โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9 สายวงแหวนกาญจนาภิเษกด้านตะวันตก ช่วงบางขุนเทียน-บางบัวทอง (ระยะทาง 38 กม.)
ข้อมูลปรับปรุงล่าสุด เมษายน 2564
1) ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 สายกรุงเทพมหานคร – บ้านฉาง (ระยะทาง 181 กม.)
2) ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 สายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ถนนกาญจนาภิเษก) ตอนบางปะอิน – บางพลี และตอนพระประแดง – บางแค ช่วงพระประแดง – ต่างระดับบางขุนเทียน (ระยะทาง 79 กม.)
3) ทางหลวงสัมปทาน สายทางยกระดับอุตราภิมุข (ระยะทาง 22 กม.) (บ.ดอนเมืองโทลเวย์ เป็นผู้รับสัมปทาน)
สำหรับโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองที่ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้าง มีจำนวน 3 สายทาง ระยะทางรวม 317 กม. ได้แก่
1) โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 6 สายบางปะอิน – นครราชสีมา (ระยะทาง 196 กม.)
2) โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 81 สายบางใหญ่ – กาญจนบุรี (ระยะทาง 96 กม.)
3) โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 82 สายบางขุนเทียน – บ้านแพ้ว (ระยะทาง 25 กม.)
ในส่วนของโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองที่อยู่ระหว่างการศึกษารูปแบบการลงทุนและเตรียมความพร้อมในการเสนอขออนุมัติเห็นชอบการดำเนินการก่อสร้าง มีจำนวน 4 สายทาง ระยะทางรวม 187 กม. ได้แก่
1) โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 8 สายนครปฐม – ชะอำ (ระยะทาง 109 กม.)
2) โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 5 ส่วนต่อขยายทางยกระดับอุตราภิมุข ช่วงรังสิต – บางปะอิน (ระยะทาง 22 กม.)
3) โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 ทางยกระดับช่วงศรีนครินทร์-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ระยะทาง 18 กม.)
4) โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9 สายวงแหวนกาญจนาภิเษกด้านตะวันตก ช่วงบางขุนเทียน-บางบัวทอง (ระยะทาง 38 กม.)
ข้อมูลปรับปรุงล่าสุด เมษายน 2564